สำหรับ
โรคพิษสุนัขบ้าเรียกว่าเป็นโรคร้ายแรงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะกับสุนัข เพราะถ้าเกิดเกิดขึ้นแล้ว ทั้งคนและสัตว์จะไม่มีทางรักษาได้ แต่ก็ยังจะมีวิธีในการป้องกันโรคชนิดนี้อยู่ด้วย ดังนั้นเราจึงอยากอธิบายข้อมูลต่างๆ ของโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งอาการ วิธีการรักษา และวัคซีนที่ใช้ให้เหมาะสม มาฝากทุกท่าน
โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร
โรคพิษสุนัขบ้า คือ โรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เรบีส์ (Rabies Virus) โดยเชื้อโรคนี้จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งนอกจากจะหมายถึง สุนัข แล้ว ยังรวมถึง แมว วัว ควาย ชะนี กระรอก เสือ หมี หนู ค้างคาว และอื่นๆ รวมถึงคนด้วย โดยปัจจุบันนั้นยังไม่มียาที่มารักษาโรคนี้ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตก็มักจะเสียชีวิตทั้งหมด
โรคพิษสุนัขบ้า ติดต่อกันได้อย่างไร
ในส่วนของ เชื้อไวรัส เรบีส์ (Rabies Virus) นั้นจะสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ หากสัตว์ตัวนั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า เข้ามากัด มาข่วน เลีย หรือมีน้ำลายกระเด็นโดนตา ปาก หรือผิวหนังส่วนที่มีบาดแผล โดยจะใช้เวลา 2-8 สัปดาห์ หรือแค่ 7 วัน บางคนอาจถึงปีเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล และปริมาณเชื้อที่รับ ซึ่งเชื้อสามารถติดต่อจากสุนัขไปสุนัข หรือสุนัขไปคนก็ได้ แต่สำหรับคนสู่คนจะน้อยมาก
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า 3 ระยะ
สำหรับอาการของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขนั้น จะเห็นอาการได้ใน 3 ระยะ ภายหลังจากการรับเชื้อแล้ว โดยมีดังนี้
- ระยะแรกเริ่ม จะมีอุปนิสัยเปลี่ยนไป อารมณ์ไม่คงที่ จากเดิมที่ขี้เล่นกับเจ้าของ จะเริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย แต่ถ้าเดิมสุนัขตัวนั้นมีนิสัยไม่ค่อยเล่นกับเจ้าของก็จะเปลี่ยนเป็นมาคลุกคลีมากขึ้น อยากใกล้เจ้าของผิดปกติ อีกทั้งเราจะสามารถสังเกตได้จากม่านตาที่เริ่มขยายมากกว่าตอนปกติ เพราะเป็นอาการของการตอบสนองต่อแสงลดลง
- อาการระยะตื่นเต้น สำหรับระยะนี้จะเริ่มแสดงอาการกระวนกระวาย และมีการตอบสนองรุนแรงจากสิ่งเร้าต่างๆ มีการกัดทำลายข้าวข้อง วิ่งไปมาๆ แบบไม่มีจุดหมาย ไม่รู้สึกเจ็บปวดใด มีอาการหอนผิดปกติ เพราะอาการอัมพาตจากกล้ามเนื้อ กล่องเสียงเปลี่ยน ลิ้นห้อยลักษณะสีแดง น้ำลายไหล
- อาการระยะอัมพาต ระยะนี้จะมีอาการเล็กน้อยเท่านั้น อาการขาอ่อนแรงโดยเฉพาะกับขาหลัง เพราะการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน สุนัขจะลุกไม่ได้ และเกิดเป็นอัมพาตทั่วตัวอย่างรวดเร็ว และตายในท้ายที่สุด
ทำอย่างไรเมื่อสุนัขที่เลี้ยงถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด
กรณีที่สุนัขของคุณนั้นถูกสุนัขตตัวอื่นที่เป็นโรคพิษสุนัขกัดขึ้นมา จะต้องตัดสินใจแล้วว่าจะเลี้ยงสุนัขของคุณต่อไป หรือจะทำการการุณยฆาต หรืออาจจะฉีดยาให้น้องสุนัขตาย โดยหากคุณเจ้าของอยากดูแลต่อจะต้องกักตัวสุนัขตัวที่ถูกกักไว้เป็นเวลา 6 เดือน โดยจะต้องฉีดวัคซีนทันทีเมื่อถูกกัดและให้เช็คอาการให้ดี หากมีการแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าให้การุณยฆาตทันที แต่หากไม่มีอาการใดๆ เลย 1 เดือนก่อนจะปล่อยตัวก็ให้ฉีดวัคซีนก่อนอีกครั้ง แล้วจึงปล่อยให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และหมั่นฉีดวัคซีนต่อเนื่องทุกปี
วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงด้วยการฉีดวัคซีน
โรคพิษสุนัขบ้านั้น สามารถป้องกันไม่ให้เกิดกับ สุนัข ได้ง่ายๆ โดยตรงด้วยการนำน้องหมาไปฉีดวัคซีนเมื่อมีอายุถึง 3 เดือนขึ้นไป และต้องไปฉีดซ้ำให้ทุกปีด้วย โดยจะมีวัคซีนที่แบ่งไว้ตามกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งจำแนกจากการนำเชื้อเรบีส์ Rabies virus จากการเพาะเลี้ยงแบบเฉพาะ ทำให้เชื้อพิษสุนัขบ้าตายก่อน แล้วจึงนำมาฉีดเพื่อสร้างภูมิกระตุ้นกับร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันภัยกับไวรัสชนิดนี้ได้ ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือการฉีดเข้าผิวหนัง
- PDEV หรือ Purified Duck Embryo Cell Rabies Vaccine จะเป็นวัคซีนที่มาจากเชื้อเพาะเลี้ยงของไวรัสตัวอ่อนไข่เป็ดที่ทำการฟักแล้วเท่านั้น โดยจะเป็นลักษณะวัคซีนผงแห้งละลายน้ำ เมื่อละลายจะมีลักษณะคือสารแขวนตะกอนสีขาวขุ่น ซึ่งต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อของสุนัข
- HDCV หรือ Human Diploid Cell Rabies Vaccine จะเป็นวัคซีนที่ได้มาจากการเพาะเชื้อไวรัสจาก Human Diploid Cell ลักษณะจะเป็นวัคซีนผงแห้งละลายน้ำ เมื่อละลายจะมีลักษณะสีชมพู ซึ่งต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อของสุนัข
- PCECV หรือ Purified Chick Embryo Cell Rabies Vaccine จะเป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเชื้อไวรัสจาก Primary Chick Embryo Fibroblast Cell ลักษณะจะเป็นวัคซีนผงแห้งพร้อมละลายน้ำ เมื่อละลายจะมีลักษณะใส ไม่มีสี ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อของสุนัขหรือผิวหนังก็ได้
- PVRV หรือ Purified Vero Cell Rabies Vaccine จะเป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเชื้อจาก Vero Cells ลักษณะจะเป็นวัคซีนผงแห้งพร้อมละลาย เมื่อละลายจะเป็นวัคซีนสีใส ไม่มีสี ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อของสุนัขหรือผิวหนังก็ได้
สรุปการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
หากคุณพบเห็นสัตว์ที่อาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า อย่างการมีอาการหางตก การเดินโซเซ มีน้ำลายย้อย ตาขวาง หรือลิ้นห้อย เจอแบบนี้ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ปศุสัตว์ หรือจะเป็นผู้นำชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้มาจัดการจับได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และเพื่อป้องกันไม่ให้ไปกัดกับสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ และระวังอย่าปล่อยปะละเลยให้สุนัขของคุณออกไปวิ่งเล่นข้างนอกบ้านโดยที่ไม่ได้สังเกตด้วยจะปลอดภัยที่สุด ถึงแม้ว่าโรคพิษสุนัขบ้าจะมีวัคซีนป้องกันทั้งสุนัขและคน ทั้งนี้ก็ควรระมัดระวังเลี่ยงการสัมผัสกับสุนัขที่ไม่รู้ที่มาที่ไปเอาไว้ก่อน
อ่านเพิ่มเติม
10 โรคร้ายของสุนัข