โรคพยาธิหนอนหัวใจในน้องหมา ภัยร้ายของสุนัขที่มาภาหะเกิดมาจาก ยุง สัตว์ร้ายที่นอกจากกินเลือดคนแล้วยังรวมถึงสัตว์ต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขที่เราต้องเลี้ยงไว้นอกบ้านตลอดเวลา โดยยุงเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงอย่างพยาธิหนอนหัวใจมาสู่สุนัข โดยเมื่อสุนัขติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ อาการที่เราจะสังเกตได้จากสุนัขคืออะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันการรักษาอย่างไร มาทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้กันเลย
โรคพยาธิหนอนหัวใจ คืออะไร
โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข เกิดจากเชื้อไว้รัส Dirofilaria Immitis ซึ่งแพร่กระจายจากยุงที่ดูดเลือดสุนัข และมีตัวอ่อนของพยาธิจะเข้าไปเติบโตในกระแสเลือดจนพัฒนาตัวอ่อนระยะติดเชื้อจะถูกปล่อยเข้าสู่ร่างกายสุนัข โดยพยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในหัวใจและหลอดเลือดใกล้เคียง ทำให้โรคนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พยาธิหนอนหัวใจ โรคนี้พบได้ทั่วไปในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและแถบเมืองร้อนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นสุนัขที่อาศัยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูงก็จะมีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้ได้มากกว่า
โรคยาธิหนอนหัวใจ มีอาการอย่างไร
โดยปกติสุนัขอาจติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจในช่วงอายุยังน้อยได้ แต่ส่วนมากจะมีอาการในช่วงโตขึ้นได้มากกว่า โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 4 ปีไปแล้ว สุนัขจำนวนมากที่ติดเชื้อดังกล่าวนี้จะแสดงอาการเบื้องต้น เช่น ไอแห้ง เซื่องซึม เหนื่อยง่าย มีหายใจหอบ และอ่อนเพลีย หรือบางตัวอาจไอเป็นเลือดด้วย ในระยะต่อมาจะมีอาการบวมน้ำ ท้องมาน และเสียชีวิตได้ในที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามสุนัขบางตัวที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจนี้อาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน เพราะจะขึ้นอยู่กับจำนวนตัวแก่ของพยาธิด้วย หากมีตัวแก่น้อยก็อาจไม่พบอาการแสดงว่าป่วยเลย แต่หากมีตัวแก่จำนวนมากก็อาจจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตได้ โดยอาการอาจสังเกตได้ชัดเจนในสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น อัลเซเชียน เป็นต้น โดยจะมีอาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยหอบเมื่อออกกำลังกาย และในบางกรณีอาจหัวใจวายตายได้เลย
วิธีป้องกัน
สำหรับการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจ จะต้องฉีดวัคซีนเป็นหลัก โดยก่อนการฉีดวัคซีนนั้น สัตวแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพสุนัขอย่างละเอียด รวมถึงตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของตับและไต หรือสุนัขบางตัวอาจจำเป็นต้องเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อตรวจสอบหัวใจและปอด เพื่อเป็นการยืนยันว่าสุนัขมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะรับการฉีดวัคซีนได้ แต่หากสุนัขมีสุขภาพไม่ดีนั้นก็ต้องได้รับการบำรุงก่อนการฉีดวัคซีนด้วย แต่หากสุนัขมีสุขภาพดีพอที่จะรับการฉีดวัคซีนได้เลย โดยสัตวแพทย์จะให้การรักษาทันที เพราะเนื่องจากวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจมีความเป็นพิษสูงจึงแนะนำให้ตรวจสุขภาพสุนัขก่อนการฉีดวัคซีน
นอกจากนี้หลังการฉีดวัคซีน สุนัขอาจเสียชีวิตได้ เพราะจากตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจที่ตายแล้วอุดตันในหลอดเลือด ดังนั้นจึงควรเฝ้าสังเกตอาการของสุนัขอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2-6 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนประมาณ 4 สัปดาห์ โดยสุนัขควรได้รับยาฆ่าตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจและได้รับการป้องกันตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีกได้
คำแนะนำเพิ่มเติมในการป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจ
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จึงมีปัญหายุงชุกชุมตลอดทั้งปี และก็เป็นเรื่องยากที่จะป้องกันไม่ให้ยุงกัดสุนัขได้เพราะเราต้องเลี้ยงนอกบ้านอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นวิธีป้องกันที่ได้ผลคือการใช้ยาหรือฉีดวัคซีนเพื่อกำจัดตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจในกระแสเลือดของสุนัขก่อนที่มันจะพัฒนาไปเป็นตัวแก่ในหัวใจได้ และต้องบอกว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจสะดวกและคุ้มค่ากว่าการกินยา เพราะการกินยาต้องทำทุกเดือน ขณะที่การฉีดวัคซีนทำเพียงทุก 2 เดือน เริ่มตั้งแต่สุนัขอายุ 3 เดือนนั่นเอง ส่วนขั้นตอนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจดังกล่าวนั้น จะเริ่มจากการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งหากไม่พบตัวอ่อนก็สามารถเข้าสู่โปรแกรมป้องกันได้ทันที แต่หากพบตัวอ่อน แสดงว่ามีตัวแก่ในหัวใจอยู่แล้ว จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อกำจัดตัวแก่ก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่โปรแกรมป้องกันโรคนี้
หากต้องการให้สุนัขฉีดวัคซีนป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ แต่ว่าเคยได้รับยาป้องกันมาก่อนแล้วแต่ไม่ได้รับอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ หรือเคยใช้ยาป้องกันเพื่อกำจัดเห็บและขี้เรื้อน แบบนี้จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อหาแอนติเจนของพยาธิตัวแก่ในเลือดก่อน เนื่องจากอาจมีพยาธิตัวแก่ในหัวใจได้แม้ว่าจะตรวจเลือดไม่พบตัวอ่อน หากผลการตรวจเป็นลบ แสดงว่าไม่มีพยาธิหนอนหัวใจตัวแก่และสามารถเข้าร่วมโปรแกรมป้องกันได้ แต่หากผลเป็นบวก แสดงว่ามีตัวแก่ในหัวใจ ต้องฉีดยาทำลายตัวแก่ก่อน แล้วจึงเข้าร่วมโปรแกรมป้องกันได้ โดยปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาพยาธิหนอนหัวใจมีราคาสูง จึงควรป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดโรคไว้จะดีกว่า
อ่านเพิ่มเติม 10 โรคร้ายของสุนัข