เห็บหมัด เป็นอีกปรสิตตัวร้ายที่จะเข้ามาสร้างปัญหาให้กับคนรักสุนัข ยิ่งกว่าที่หลายคนคิด เพราะก่อนที่เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับเห็บหมัด ว่ามันจะสร้างปัญหาอะไรให้กับน้องหมา สุนัข ที่เราเลี้ยงอยู่ได้บ้างนั้นก่อนอื่นเลยอยากจะพาไปทำความรู้จักกับพวกมันกันก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร โดยเฉพาะ เห็บ กับ หมัด ก็ไม่เหมือนกันด้วย ทั้งลำตัว การเคลื่อนไหว กระโดดได้และไม่ได้ จึงต้องมาเจาะรายละเอียดไปด้วยกันก่อน
รู้จักกับวงจรชีวิตเห็บหมัด
สำหรับหมัดหากโตเต็มวัย แล้วจะกินเลือดอาศัยอยู่บนตัวสุนัข และจะทำการวางไข่บนตัวสุนัขประมาณ 50 ฟองต่อครั้งต่อวัน ซึ่งจะใช้เวลาฟักเป็นตัวอ่อนอยู่ที่ 2-5 วัน และไข่จะร่วงหล่นพื้นหรือตามสภาพแวดล้อมใกล้เคียง
ตัวอ่อนระยะที่ 1 จะทำการกินเศษอุจจาระของหมัดที่เจริญวัยแล้วที่ร่วงตามพื้น กินเศษดินหรือไข่พยาธิรอบตัว จากนั้นในระยะที่หนึ่งจะลอกคราบและเข้าสู่ระยะที่ 2 ในเวลา 5-21 วัน
ตัวอ่อนระยะที่ 2 จะมีลักษณะคล้ายกับดักแด้ รังไหม โดยอาศัยในสภาพแวดล้อม 20-30 วัน ในการลอกคราบและโตเต็มวัย หรือบางตัวสามารถคงสภาพดักแด้ได้เป็นปี แต่เมื่อลอกคราบออกมาเป็นตัวแล้ว จะเข้าสู่สุนัขต่อไป
ระยะโตเต็มวัย ในตอนนี้เห็บหมัดจะหากินโดยการเกาะและดูดเลือดสัตว์เลือดอุ่นอย่างสุนัข ซึ่งหากสัตว์เลี้ยงสุนัขของคุณไม่เคยเป็นมาก่อน บางทีอาจติดมาจากสัตว์อื่นนอกบ้านก็เป็นได้
อาการของสุนัขเมื่อเห็บหมัดเกาะบนตัว
เมื่อมีเห็บหมัดมาเกาะบนตัวสุนัขแล้ว จะสังเกตได้จากอาการของพวกเขา อย่างอาการเฉพาะที่อย่างการเห็นหมัดเป็นตัวๆ ได้เลย หรือบางทีเห็นกระโดดจากสัตว์อีกตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง หรือบางทีอาจจะเห็นขี้หมัดลักษณะเป็นผงสีดำๆ ตามตัวของสุนัข บริเวณพื้นบ้าน โดยเห็บหมัดจะทำการดูดเลือดสุนัขและจะมีน้ำลายของมันที่ทำให้น้องหมาเกิดอาการแพ้ขึ้นมาได้ สุนัขก็จะแสดงอาการคันและเกา กัด หรือแทะตัว มีลักษณะที่กระวนกระวาย นอนหลับแล้วสะดุ้งขึ้นมากัดๆ เกาๆ ตัวเอง นอกจากนี้บางตัวมีอาการแพ้น้ำลายหมัดจะรุนแรงขึ้นอย่างอาการคัน ขนร่วง มีผื่นตามตัว เป็นต้น
อีกทั้งหากเป็นอาการที่เกิดขึ้นในทางระบบ จะพบว่าสุนัขบางตัวอาจมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับสุนัขวัยเด็ก หรือมีขนาดตัวเล็กจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า หรือถ้าหากสุนัขมีอาการคันรุนแรงมากจนทำให้ต้องกัดแทะตามตัวบ่อยๆ อาจจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้กินหมัดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งจะทำให้มีพยาธิตัวตืดได้
เห็บหมัดจะส่งผลอย่างไรกับสุนัขบ้าง
อย่างที่เราได้อธิบายไปแล้วคร่าวๆ เกี่ยวกับว่าหากเห็บหมัดที่ว่านี้มาเกาะบนตัวสุนัข น้องหมาของเรา แล้วจะส่งผลอย่างไรบ้าง เรามาดูรายละเอียดอย่างชัดเจนกันเลยดีกว่าแค่เห็บหมัดนี้จะทำให้สุนัขของเราเป็นโรค หรือป่วยในเรื่องใดได้บ้าง
โรคเกี่ยวกับระบบผิวหนัง
ปัญหาแรกเริ่มที่น่าจะเบาที่สุด คือ โรคเกี่ยวกับผิวหนัง หากสุนัขตัวนั้นไม่ได้แพ้น้ำลายของเห็บหมัดก็อาจจะเป็นแค่รอยแดง ผิวหนังอักเสบ แต่ถ้าสุนัขตัวนั้นมีอาการแพ้น้ำลายของหมัดก็อาจจะทวีความรุนแรง มีอาการขนร่วง มีรอย แทะ กัด แกะ เกา ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณสะโพก ขาหลัง ซึ่งหากไม่ได้รักษาให้ดีก็อาจมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้
โรคแพ้น้ำลายเห็บและหมัด
โรคนี้จะคล้ายกับการแพ้น้ำลายยุง คือ จะมีตุ่ม มีผิวหนังอักเสบเกิดขึ้นตามตัวสุนัข ทำให้มีอาการคันรุนแรง ผิวแดง อักเสบ ขนร่วง มีแผล ตามบริเวณเอว หลังล่าง แนวโคนหาง ขาหลัง รอบรูทวาร รวมถึงสะดือ จนทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบในท้ายที่สุด
โรคพยาธิในเม็ดเลือด
อีกหนึ่งโรคที่พบได้ในสุนัขที่มีเห็บหมัด คือ พยาธิเม็ดเลือด ที่มาจากการที่เห็บหมัดมากัดเลือดจากสุนัขตัวอื่นที่แพร่เชื้อ และมากัดที่สุนัขที่ยังไม่ติดเชื้อ เป็นการแพร่พันธุ์จนเข้าไปทำลายระบบเม็ดเลือดของสุนัข อาการคือจะมีไข้สูง เซื่องซึม เบื่ออาหาร มีเหงือกซีดลง หากสุนัขที่มีอาการรุนแรงจะมีปื้นเลือดตามตัวของพวกเขาด้วย เพราะมาจากสภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตก หรือเช็คจากปัสสาวะอาจมีเลือดปน เป็นสีส้มหรือแดง น้ำตาล เกิดขึ้น
โรคพยาธิตัวตืดในทางเดินอาหาร
นี่เป็นสภาวะของสุนัขที่กินเห็บหมัดเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ในตอนที่กัดเลียตามเส้นขน ตามผิวหนัง เพราะอาการคัน ทำให้มีพยาธิเกิดขึ้นและเข้าสู่ทางเดินอาหาร เป็นพยาธิเม็ดแตงกวา ผลคือจะทำให้มีอาการท้องเสีย มีการเบื่ออาหาร คันรูทวาร อาเจียน ท้องกาง น้ำหนักตัวลดลง ขาดสารอาหาร และภูมิตก ติดเชื้อแทรกซ้อนได้
โรคเลือดจาง
ปกติแล้วเห็บหมัดจะดูดเลือดสุนัขเป็นอาหาร ดังนั้นหากมีเห็บหมัดปริมาณมากๆ จนกินเลือดทั่วตัว ส่งผลทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ โดยสามารถสังเกตอาการได้จากสุนัขที่จะไม่ร่าเริง เซื่องซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร หายใจเร็ว เหงือกซีด ใจเต้นเร็ว อุณหภูมิลดลง และระบบประสาท เป็นต้น
แนวทางการการป้องกันและกำจัด
การกำจัดเห็บหมัดให้ได้ผลนั้น ต้องกำจัดทั้งบนตัวสัตว์และในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเห็บหมัดสามารถหลบซ่อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสำหรับวิธีการกำจัดเห็บหมัดบนตัวสัตว์นั้น มีหลากหลายวิธี เช่น
- ยาแบบสเปรย์ เหมาะสำหรับสุนัขในกรณีที่มีเห็บหมัดจำนวนมาก
- ยาหยอดหมัดสุนัข เหมาะสำหรับการป้องกันหรือกรณีที่มีเห็บหมัดจำนวนน้อย
- ยากินแบบรายเดือนหรือรายสามเดือนสำหรับป้องกันเห็บหมัด
- แบบอื่นๆ เช่น ยาผสมน้ำสำหรับใช้อาบตัว หรือปลอกคอเพื่อป้องกันเห็บหมัด
สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ได้ผลและปลอดภัยนั้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้คือ
- การควบคุมสภาพแวดล้อม โดยควบคุมและกำจัดเห็บหมัดในบริเวณที่สัตว์เลี้ยงอาศัยและบริเวณใกล้เคียง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีเห็บหมัดชุกชุม และทำความสะอาดบ้านและบริเวณโดยรอบเป็นประจำเพื่อกำจัดเห็บหมัดและไข่
- การควบคุมเห็บหมัดในสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงทุกตัวที่เลี้ยงในบ้านเดียวกันควรได้รับการป้องกันเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ ต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดที่เหมาะสมสำหรับสัตว์เลี้ยงแต่ละตัว และใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดตามคำแนะนำของสัตวแพทย์และผู้ผลิตเท่านั้น
- การใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดอย่างต่อเนื่อง โดยทำการป้องกันเห็บหมัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือนตลอดทั้งปี และอย่าขาดการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดแม้ว่าจะไม่พบเห็บหมัดก็ตาม เพราะการป้องกันอย่างต่อเนื่องจะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เกิดจากเห็บหมัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หมัดตัวเล็กจิ๋วอาจดูไม่เป็นอันตราย แต่แท้จริงแล้วพวกมันแฝงอันตรายที่คาดไม่ถึงได้ เพราะสามารถแพร่โรคและทำร้ายสุนัขที่คุณรักได้อย่างร้ายแรง ดังนั้น การป้องกันเห็บหมัดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีการป้องกันเห็บหมัดที่อยากสรุปแนะนำคือการใช้ยากินที่มีฤทธิ์ยาวนาน 35 วัน ควบคู่ไปกับการกำจัดหมัดในสภาพแวดล้อมที่สุนัขอาศัยอยู่ เพราะการป้องกันแบบนี้จะช่วยให้คุณควบคุมได้อยู่หมัด และช่วยปกป้องสุนัขของคุณจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม 10 โรคร้ายของสุนัข