หมาเป็นเชื้อรา ในช่วงหน้าฝนที่อากาศค่อนข้างจะอับชื้น สำหรับคนที่เลี้ยงสุนัขอยู่แล้วก็ควรที่จะใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของสุนัข ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่ฝนตกบ่อยๆ อีกทั้งเลี้ยงสุนัขไว้นอกบ้านด้วยแบบนี้ ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษเลย เพราะเชื้อรามักจะมากับความสกปรกและความอับชื้น ทั้งในอาหาร ที่นอนของสุนัข มันจะนำมาซึ่งโรคผิวหนังและเชื้อราอันตรายยากต่อการรักษาได้ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าหากสุนัขเป็นเชื้อรามีวิธีรักษาอย่างไรและมีแนวทางป้องกันยังไงบ้าง
เชื้อราในสุนัข อาการและสาเหตุที่มา
โรคเชื้อราในหมา (Dermatophytosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อราในกลุ่ม Epidermophyton genus และ Microsporum Trichophyton ที่พบได้กับสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขรวมถึงแมวได้ด้วย และยังร่วมถึงสัตว์ที่มีฟันแทะขนาดเล็กอย่าง หนู ตะเภา หรือกระต่าย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบริเวณผิวหนัง ตามเส้นหน และเล็บเท้า
โดยอาการของสุนัขที่ติดเชื้อรานั้น จะเข้าไปทำลายรูขุมขน ตามเส้นขน จนทำให้สภาพขนอ่อนแอลง เกิดเป็นภาวะขนร่วง ในลักษณะเป็นวงหย่อมๆ ตามร่างกาย แต่บางตัวอาจจะเกิดสะเก็ดที่มีรอบวงที่หนา โดยหากเชื้อรามีการแพร่กระจายเราจะเห็นเป็นวงมากกว่า 1 วงขึ้นไป ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตามหัว ขา เท้า เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วสุนัขที่ติดเชื้อราจะไม่มีอาการคัน แต่หากมีอาการขั้นรุนแรงจนผิวหนังถูกทำลาย มีการติดเชื้อแทรกซ้อน และอักเสบ ก็จะแสดงอาการคันออกมา
วิธีสังเกตอาการคันเชื้อราของสุนัข
สำหรับการสังเกตว่าหมาของเรามีการติดเชื้อรา เกิดโรคผิวหนังดังกล่าวขึ้นแล้ว เราสามารถสังเกตได้ใน 5 ระดับด้วยกันดังต่อไปนี้
- ขั้นที่ 1 ในระยะแรกเริ่มที่จะมีระดับอาการคันเล็กน้อย หรือไม่คันเลย ซึ่งหากสังเกตให้ดีจะรู้ว่าสุนัขเริ่มมีอาการโรคผิวหนังเกิดขึ้นให้เห็นแล้ว
- ขั้นที่ 2 ระยะนี้จะเริ่มมีอาการคันเล็กน้อย โดยจะเกาเป็นช่วง แต่ไม่ได้แสดงอาการทั้งวัน ยังสามารถกินอาหารและนอนหลับทำกิจกรรมได้ปกติอยู่
- ขั้นที่ 3 ในระดับนี้สุนัขจะเริ่มแสดงอาการคันมากขึ้น มีการเกาเป็นช่วงๆ และเริ่มสังเกตได้ชัดว่าเกาบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในตอนกลางคืนหรือขณะนอนหลับ หากสังเกตร่างกายจะมีรอยหอมโรคเชื้อราชัดเจน
- ขั้นที่ 4 ระยะที่รุนแรงจนทำให้สุนัขมีอาการคันตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำกิจกรรมวัดประจำวัน การกิน การเดิน ก็จะหยุดเกาตลอดเวลา หรือแม้แต่ตอนหลับก็จะสะดุ้งตื่นมาเกา สังเกตเห็นเมื่อไหร่ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
- ขั้นที่ 5 ระยะสุดท้ายที่มีระดับความรุนแรงมากที่สุด สุนัขจะมีอาการคันตลอดเวลา และเริ่มกัดแทะเนื้อผิวหนังของตัวเอง เราจะสามารถเห็นระดับความรุนแรงได้อย่างชัดเจน และต้องรีบพาไปพบแพทย์เร็วที่สุด
การรักษาโรคเชื้อราในหมา
สำหรับการรักษาสุนัขที่มีอาการของโรคเชื้อรา ผิวหนังอักเสบ ให้สังเกตว่าหากสุนัขของเรามีอาการขนร่วงผิดปกติ หรือมีอาการคันเกาบ่อยๆ ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยไม่ต้องรอแสดงอาการหนักไปกว่านี้ โดยแพทย์จะจ่ายยาที่ให้เรามารักษาด้วยการใช้ยาแบบจุ่มหรือทาที่ผิวสำหรับสุนัขที่อายุยังน้อย รวมไปถึงอาจมีการตัดขนเพื่อให้สามารถทายาภายนอกได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็ต้องมีความระมัดระวังเพราะอาจจะมีการแพร่เชื้อเกิดขึ้นในระหว่างการตัดแต่งขนได้ และควรหมั่นนำสุนัขมาอาบน้ำด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมตัวยากำจัดเชื้อราโดยเฉพาะ เพื่อลดจำนวนสปอร์เชื้อราลงควบคู่ไปด้วย
วิธีการป้องกันการติดเชื้อราในน้องหมา
ดูแลสุนัขให้ตัวแห้งเสมอ เพราะในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นสูง อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีขนยาวหรือขนสองชั้น ควรดูแลเป็นพิเศษ หากมีคราบเหลือง ตุ่ม หรือผื่นคัน อาจเกิดจากการติดเชื้อราได้ นอกจากนี้ความชื้นก็ส่งผลให้เกิดเชื้อราบนผิวหนังด้วยเหมือนกัน โดยแนะนำให้ดูแลเรื่องผิวหนังและเส้นขนให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ตัวเปียกชื้น และหากสกปรกก็ควรอาบน้ำด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยน หรือสูตรลดการเกิดเชื้อราและแบคทีเรีย หรืออาบให้เฉพาะจุดที่สกปรกได้เลย
เก็บอาหารให้ดี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ควรสังเกตชามอาหารและกระสอบอาหารของสุนัขบ่อยๆ เนื่องจากความชื้นอาจทำให้เกิดเชื้อราหรือทำให้อาหารเน่าเสียได้ เมื่อพวกมันกินอาหารที่มีเชื้อราเข้าไป อาจทำให้ท้องเสียหรือมีปัญหาระบบทางเดินอาหารได้ และควรเก็บอาหารทุกประเภท ทั้งอาหารเม็ดและแบบเปียก และขนมสุนัข เก็บให้มิดชิดเพื่อรักษาคุณภาพ และหมั่นทำความสะอาดชามอาหารเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและรักษาสุขอนามัยที่ดี
ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่ เพราะสิ่งแวดล้อมและบริเวณที่อยู่อาศัยก็เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากเชื้อราสามารถเติบโตได้ดีที่สุดในที่ที่มีความชื้น เช่น บริเวณที่นอน เบาะนอนของสุนัข น้ำในชามอาหารอาจมีฝุ่นและเชื้อโรคหมักหมมอยู่ ดังนั้นควรทำความสะอาดบริเวณที่นอนและเบาะนอนเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้สุนัขที่เราเลี้ยงป่วยหรือเป็นโรคเชื้อราโรคผิวหนังกันอย่างแน่นอน เพราะนอกจากที่จะทำให้สุนัขของเราต้องทนกับอาการคัน ความรำคาญจากอาการคันอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังทำให้สุขภาพจิตของพวกมันแย่ลงด้วย อีกทั้งยังสามารถเกิดโรคติดต่อไปกับสัตว์ตัวอื่นๆ รวมไปถึงคนเราได้อีกด้วย ดังนั้นหากพบอาการที่น่าสงสัยควรรีบนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจเช็คเพื่อรักษาโดยเร็วที่สุด