หมาตัวร้อน หรือสุนัขเป็นไข้ ถือว่าเป็นอาการที่ทำให้เจ้าของหลายคนกังวลใจกันอย่างมาก โดยเฉพาะสุนัขที่เคยแข็งแรงมาตลอดแต่อยู่ๆ ก็ตัวร้อนขึ้นมา จนบางครั้งคนเลี้ยงอย่างเราก็ไม่รู้สาเหตุว่ามาจากไหน หลายคนกังวลใจมาก ทำให้สาเหตุของการเป็นไข้ที่หลายคนกังวล ไม่ว่าจะการติดเชื้อ การโดนสารพิษ หรืออาการจากการฉีดวัคซีน และอีกมากมาย ซึ่งการดูแลสุนัขที่เป็นไข้ตัวร้อนแบบนี้จึงถือว่าสำคัญอย่างมากเพราะเกิดขึ้นได้ง่ายมาจากหลายสาเหตุ ดังนั้นเรามาดูกันว่ามีวิธีสังเกตและรับมืออย่างไรได้บ้าง
สุนัขตัวร้อน สังเกตอย่างไร
สำหรับอาการหมาตัวร้อน ก็เหมือนกับคนเราเลยที่มีไข้ตัวร้อน เพราะสุนัขก็เป็นสัตว์เลือดอุ่นเช่นเดียวกันนั่นเอง โดยปกติแล้วอุณหภูมิจะอยู่ที่ 37.5-39.2 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าในคนคือ 36.4-37.5 องศาเซลเซียส นั่นเอง และอาการที่สังเกตได้คือ ตาแดง ตัวสั่น นอนซม เบื่ออาหาร ไม่กินอาหาร หรืออาเจียน ไม่มีแรงลุกขึ้นมาวิ่งเล่น และหากใช้นิ้วจับที่จมูกสุนัข จะรู้สึกได้เลยว่ามีความอุ่นแห้งๆ หรือจับที่ใบหูก็จะรู้สึกอุ่น แปลว่าเริ่มมีไข้แล้ว ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดและหาก อุณหภูมิสูงกว่า 39.5 องศาเซลเซียสมากกว่า 1 วัน หรือมีอาการตัวสั่นๆ รุนแรง มีอาการไอจาม หรือท้องเสีย ไม่กินอะไรเลยมากกว่า 2-3 วัน แบบนี้ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน
สังเกตจากการจับอุ้งเท้า
เมื่อสุนัขมีไข้ อุณหภูมิบริเวณหูและอุ้งเท้าจะสูงกว่าปกติ เราสามารถใช้หลังมือสัมผัสเพื่อเช็คความร้อนตามจุดต่างๆ ได้ เนื่องจากหลังมือมีความไวต่อความร้อนอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถจับสุนัขแล้วเปรียบเทียบอุณหภูมิร่างกายของพวกมันกับตัวเราเองเทียบกันได้เลย
สังเกตจากการจับจมูก
ปกติแล้วจมูกของสุนัขควรมีความชุ่มชื้นและเปียกเล็กน้อย แต่ถ้าสังเกตว่าจมูกของสุนัขแห้งและอุ่นขึ้น ก็เป็นสัญญาณว่าอาจจะเริ่มไม่สบายแล้ว ยิ่งถ้าเห็นว่ามีน้ำมูกเหนียวข้นเป็นสีขาว เหลือง หรือเขียวร่วมด้วย อาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ เช่น ภูมิแพ้ มีเชื้อราในโพรงจมูก หรือสิ่งแปลกปลอมอุดตันอยูในจมูก ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด
สังเกตจากการจับรักแร้ จับขาหนีบ
คล้ายกับการวัดไข้ในคนเลยสำหรับวิธีนี้ ถ้ารู้สึกว่ามันกำลังเลี้ยงมีไข้ บริเวณรักแร้ ขาหนีบ จะร้อนกว่าปกติ เพราะเนื่องจากขนบริเวณนี้ค่อนข้างบาง โดยเราสามารถใช้หลังมือสัมผัสเพื่อวัดไข้ได้เลย เช่นเดียวกับการวัดไข้ที่หูและอุ้งเท้าด้วย
สังเกตจากเหงือกแห้ง เหงือกอุ่น
หากสุนัขมีอาการไข้หรือตัวอุ่น สัญญาณหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือเหงือกอุ่นและแห้ง หรือมีสีแดงผิดปกติเป็นสีอิฐแดง เพราะเป็นผลจากไข้สูงมากหรือภาวะเลือดเป็นพิษ
สามารถให้ยาลดไข้กับสุนัขเองได้ไหม
เพื่อความปลอดภัยของสุนัขควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดและขนาดยาลดไข้ที่เหมาะกับสัตว์แต่ละตัวโดยเฉพาะ ที่สำคัญไม่ควรให้สุนัขรับประทานยาลดไข้หรือยาแก้ปวดของที่คนเรากินเด็ดขาด อย่างยาลดไข้กลุ่มพาราเซตามอล แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เพราะว่ายาเหล่านี้เป็นพิษต่อสุนัข หากได้รับในปริมาณมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
วิธีการลดอุณหภูมิร่างกายสุนัขที่เป็นไข้
สำหรับการช่วยลดอุณหภูมิร่างกายสุนัขที่เป็นไข้ สามารถทำได้โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นเช็ดตัว โดยเฉพาะบริเวณใบหูและเท้า การใช้พัดลมเป่าที่ตัวบนขนที่เปียกหมาดๆ จะช่วยลดอุณหภูมิลงได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นเช็คอุณหภูมิร่างกายสุนัขโดยใช้ปรอทวัดไข้วัดอุณหภูมิทางทวารหนัก หากอุณหภูมิร่างกายลดลงถึง 39.5 องศาเซลเซียส ให้หยุดการช่วยระบายความร้อนเพื่อไม่ให้อุณหภูมิลงเร็วเกินไป และควรให้สุนัขดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อให้มีความชุ่มชื้นร่างกายและป้องกันการขาดน้ำ
แนวทางการป้องกันไม่ให้สุนัขเป็นไข้
- ให้สารอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยให้สุนัขแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดีขึ้น ซึ่งสุนัขควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามวัยและสุขภาพ เช่น สุนัขสูงอายุควรได้รับอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย และป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น
- เช็คแผลเป็นรอบตัว เพราะหากมีแผลใดๆ บนตัวสุนัข ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อบนผิวหนังหรือรอยกัด ก็อาจทำใหเกิดการติดเชื้อและไข้ได้ หากพบแผลควรรีบทำแผลเบื้องต้นและปรึกษาสัตวแพทย์ทันทีหากแผลมีขนาดใหญ่
- สารพิษต่างๆ อย่างยาและอาหารของคนเรา หรือพืชมีพิษ และสารป้องกันการแข็งตัว ก็อาจส่งผลทำให้สุนัขเป็นไข้ได้ ดังนั้นควรเก็บของพวกนี้ให้พ้นจากสุนัข และระมัดระวังในการใช้สารพิษต่างๆ ด้วย
- อย่าลืมพาพาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำ ช่วยให้เราได้ทราบถึงอาการป่วยและการติดเชื้อในระยะเริ่มต้นได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น
แน่นอนว่าการแก้อาการตัวร้อน มีไข้ ในสุนัข ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เรารู้ทันถึงอาการผิดปกติของพวกมันให้ดีก่อน หมั่นสังเกตอาการของสุนัขบ่อยๆ ว่าผิดจากปกติในแต่ละวันไปหรือไม่ หากเราเลี้ยงประจำทุกวันอยู่แล้วก็น่าจะสังเกตอาการได้ทันทีถ้าผิดปกติ และอีกอย่างที่ต้องระวังหากสุนัขมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ ตัวเย็น และอ่อนแรง อาจบ่งบอกถึงภาวะช็อกได้เลย เป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงชีวิตได้ หากสุนัขไม่สามารถขยับร่างกายได้ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันทีป